วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์

  • 1. หลักฐานประวัติศาสตร์
  • หลักฐานประวัติศาสตร์
              นักประวัติศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ชื่อ มาร์ค บลอค Marc Block ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ หลักฐานประวัติศาสตร์ ว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ คือร่องรอยพฤติกรรม การพูด การเขียน การประดิษฐ์คิดค้นการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งที่มีอยู่ภายในหลักฐานก็คือร่องรอย ความรู้สึกนึกคิด โลกทัศน์และจารีตประเพณีของมนุษย์ในอดีตที่อาจ ตกทอดถึงปัจจุบัน โดยมีร่องรอยอยู่ในธรรมชาติและวัฒนธรรมของมนุษย์

              สรุปว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ หมายถึงร่องรอยการกระทำ การแสดง การพูด การเขียน การประดิษฐ์ สิ่งก่อสร้าง ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รวมทั้งความคิดอ่าน ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ที่ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ ในบริเวณที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งกล่าวได้ว่า อะไรก็ตามที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น 


    ประเภทหลักฐานประวัติศาสตร์
    1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
        1.1 หลักฐานชั้นต้น 
        1.2 หลักฐานชั้นรอง
    2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
        2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
        2.2 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
        2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
    3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
        3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
        3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง


    1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
            หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ

    1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources
             หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

    2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
            หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
    2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
            หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ

    3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface 
            หมายถึง หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
    3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง 
            หมายถึง วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการ ศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน


    ช่วงเวลา ศักราช 

    การนับและเทียบศักราชสากลและไทย
              1. การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซูประสูติ (25 ธันวาคม) หลัง พุทธศักราช 543 ปี ซึ่งพระเยซูเป็นศาสดาของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” การนับศักราช ก่อนที่พระเยซูประสูติ เรียกว่า before christ เขียนย่อ ๆ ว่า B.C. ตัวอย่าง 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขียนว่า 1,000 B.C. หมายความว่า เป็นช่วงเวลา 1,000 ปี ก่อนพระเยซูประสูติ 
              2. การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) แล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็น พ.ศ.0 เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1 
              นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้

    การเทียบศักราช
    ร.ศ. + 2324 = พ.ศ.พ.ศ. - 2324 = ร.ศ.

    จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.

    ม.ศ. + 621   = พ.ศ.พ.ศ. - 621 = ม.ศ.

    .ศ. - 579   = ฮ.ศ.พ.ศ. - 1122 = ฮ.ศ.

    ตัวอย่าง
    ร.ศ.1+2324 = พ.ศ. 2325ร.ศ. 227  = พ.ศ. 2551
    • จ.ศ.1+1181 = พ.ศ. 1182จ.ศ.1370 = พ.ศ. 2551
    ม.ศ.1+621 = พ.ศ. 622ม.ศ.1930 = พ.ศ. 2551
    • (ค.ศ. 2008 - 579) = (พ.ศ. 2551-1122) = ฮ.ศ.1429

            3. ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1165 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) โดย ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แต่การเทียบรอบปี ของ ฮ.ศ. กับ พ.ศ. มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุก ๆ 32 ปีครึ่ง ของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ปัจจุบัน ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ. 1122 ปีและน้อยกว่า ๕.ศ. 579 ปี   ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ โดยฟังประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี 
            4. จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1182 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว 16 เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปีเป็นวันสิ้นปี 

    การเรียกปีจุลศักราชมีดังนี้

            ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 1 เรียกว่า เอกศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำเดือน 5 ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381
            ตรงกับวันที่ 7 เดือนเมษายน ปีกุน พ.ศ. 2562 ค.ศ. 2019 

            ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข เรียกว่า โทศก เช่น วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีชวดโทศก จุลศักราช 1382 
            ตรงกับ วันที่ 6 เดือนพฤษภาคม ปีชวด พ.ศ. 2563 ค.ศ. 2020 

            ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 3 เรียกว่า ตรีศก เช่น วันศุกร์ แรม 10 ค่ำเดือน 10 ปีฉลูตรีศก จุลศักราช 1383
            ตรงกับ วันที่ 1 เดือนตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2564 ค.ศ. 2021 

            ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 4 เรียกว่า จัตวาศก เช่น วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 11ปีขาลจัตวาศก จุลศักราช 1384 
            ตรงกับวันที่ 3 เดือนตุลาคม ปีขาล พ.ศ. 2565 ค.ศ. 2022 

            ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 5 เรียกว่า เบญจศก เช่น วันเสาร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะเบญจศก จุลศักราช 1385 
            ตรงกับวันที่ 27 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ค.ศ. 2023

            ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 6 เรียกว่า ฉศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรงฉศก จุลศักราช 1386 
            ตรงกับวันที่ 15 เดือนกันยายน ปีมะโรง พ.ศ. 2567 ค.ศ. 2024

            ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 7 เรียกว่า สัปตศก เช่น วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็งสัปตศก จุลศักราช 1387 
            ตรงกับ วันที่ 28 เดือนพฤษภาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. 2568 ค.ศ. 2025

            ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 8 เรียกว่า อัฐศก เช่น วันพฤหัส ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมียอัฐศก จุลศักราช 1388
            ตรงกับ วันที่ 18 เดือนมิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2569 ค.ศ. 2026

            ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข เรียกว่า นพศก เช่น วันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแมนพศก จุลศักราช 1389 
            ตรงกับ วันที่ 10 เดือนกันยายน ปีมะแม พ.ศ. 2570 ค.ศ. 2027

            ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก เช่น วันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1380 
            ตรงกับ วันที่ 30 เดือนพฤษภาคม ปีวอก พ.ศ. 2571 ค.ศ. 2028



    • 2.การแบ่งยุคประวัติศาสตร์




    การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์

            การศึกษาประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเรื่องราวการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์อาศัยอยู่บนโลกจนถึงปัจจุบัน 
            ซึ่งเราก็ไม่ทราบแน่ชัดว่า โลกเราเริ่มมีมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อไร เพียงแต่สันนิษฐาน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ 
            แต่จะให้แม่นยำในเรื่องของระยะเวลา ก็ต้องเป็นการบันทึกเหตุการณ์ โดยมนุษย์เองซึ่งก็ต้องเป็นสมัยที่มนุษย์ มีการสื่อสารโดยใช้ตัวอักษรแล้ว 
            แต่การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นมิได้เริ่มศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ตั้งแต่มนุษย์เริ่มใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร 
            ฉะนั้นการคำนวณระยะเวลาเพื่อให้แม่นยำมากที่สุดต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่นการสลายตัวของกัมมันตรังสี 
            หรือการนำสารคาร์บอนจากหลักฐานที่ต้องการตรวจสอบ ไปตรวจวัดด้วยเครื่องไอโซโทป อายุของหลักฐานชิ้นนั้นก็จะปรากฏให้เราทราบ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักประวัติศาสตร์เพื่อแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 
            การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ก็เพื่อให้เราศึกษาประวัติศาสตร์ได้สะดวกและง่ายขึ้น ทำให้เราเข้าใจว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในช่วง ระยะเวลาใด 
            สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ ที่ส่งผลตามมา นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ได้แบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ ตามหลักฐาน โดยแบ่งออกเป็น 2 สมัยดังนี้

    1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
    2. สมัยประวัติศาสตร์
             
            การแบ่งเป็น 2 สมัยแบบนี้ใช้ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ก่อนที่มนุษย์จะมีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร สมัยประวัติศาสตร์มนุษย์มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสารแล้ว 

    1. การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์แบบสากล
    1.1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
    1.2. สมัยประวัติศาสตร์

    2. การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
    2.1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
    2.2. สมัยประวัติศาสตร์


    1. ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร ์prehistory
              ประวัติศาสตร์ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์สมัยที่มนุษย์ ไม่มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้ ต้องศึกษาจากข้างของเครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ดังนี้
     1.1 ยุคหิน  Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
    1.1.1 ยุคหินเก่า  Palaeolithic หรือ Old Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
      1.1.2 ยุคหินกลาง Mesolithic หรือ Middle Stone Age ระยะเวลาประมาณ 10,000-6,000 ปีมาแล้ว
      1.1.3 ยุคหินใหม่  Neolithic หรือ New Stone Age ระยะเวลาประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว
    1.2 ยุคโลหะ  Metal age ระยะเวลาประมาณ 4,000-1,500 ปีมาแล้ว
    1.2.1 ยุคทองแดง Copper 5,000 BC - 2,500 BC
      1.2.2 ยุคสำริด Bronze 2,500 BC - 1,000 BC
      1.2.3 ยุคเหล็ก Iron 1,000 BC – 400 AD

    2. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ history
      2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ระยะเวลาประมาณ 3,500 ปี ถึง พุทธศตวรรษที่ 10
      2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ระยะเวลาประมาณ พุทธศตวรรษที่ 10 - 21
      2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ระยะเวลาประมาณ พุทธศตวรรษที่ 22- 24
      2.4 ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน ระยะเวลา พุทธศตวรรษที่ 25


    การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
            การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย ก็มีการแบ่งยุคคล้ายกับการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล โดยแบ่งออกเป็น
    1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
    2. สมัยประวัติศาสตร์

    1. ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ prehistory
              ประวัติศาสตร์ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์สมัยที่มนุษย์ ไม่มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้ ต้องศึกษาจากข้างของเครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ดังนี้
     1.1 ยุคหิน  Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
    1.1.1 ยุคหินเก่า Palaeolithic หรือ Old Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
      1.1.2 ยุคหินกลาง  Mesolithic หรือ Middle Stone Age ระยะเวลาประมาณ 10,000-6,000 ปีมาแล้ว
      1.1.3 ยุคหินใหม่  Neolithic หรือ New Stone Age ระยะเวลาประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว
    1.2 ยุคโลหะ Metal age ระยะเวลาประมาณ 4,000-1,500 ปีมาแล้ว
    1.2.1 ยุคทองแดง Copper 5,000 BC - 2,500 BC
    1.2.2 ยุคสำริด Bronze 2,500 BC - 1,000 BC
    1.2.3 ยุคเหล็ก Iron 1,000 BC – 400 AD

    2. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ history
              การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ในสมัยประวัติศาสตร์ของไทย ยึดตามประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ถือว่า ประมาณ พ.ศ. 800 เป็นช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ แต่โดยทั่วไปแบ่งตามระยะเวลาการใช้เมืองหลวงเรียกชื่อตามสมัย
    2.1 ประวัติศาสตร์สมัยก่อนสุโขทัย ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 800 ปี ถึง พุทธศตวรรษที่ 18(พ.ศ.1792)
    2.2 ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ระยะเวลา ประมาณ พ.ศ. 1792 -2006
    2.3 ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ระยะเวลา พ.ศ. 1893 - 2310
    2.4 ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี ระยะเวลา พ.ศ. 2310 - 2325
    2.5 ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ ระยะเวลา พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น